Skip to content
Home » สวัสดิภาพสัตว์และระบบการผลิตไก่เนื้อในเนเธอร์แลนด์

สวัสดิภาพสัตว์และระบบการผลิตไก่เนื้อในเนเธอร์แลนด์

  • by

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.วิษณุ วรรณแสวง

โครงการวิจัยกรีนเวลล์ (Greenwell project) พัฒนาแบบจำลองสำหรับประเมินระบบการผลิตไก่เนื้อที่มีความยั่งยืน โดยเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างระบบการผลิตให้สอดคล้องกับการผลิตที่มีความยั่งยืนในด้านต่างๆ เช่น สวัสดิภาพสัตว์ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ข้อกำหนดขึ้นต่ำที่สุดตามกฎหมายของระบบการผลิตไก่เนื้อตามปรกติ อ้างอิงตามระเบียบสหภาพยุโรป  Council Directive 2007/43/EC กำหนดไว้เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐  กำหนดเพิ่มเติมโดยรัฐบาลดัทช์  ระบบการผลิตไก่เนื้ออินทรีย์มีความเข้มงวดสูงที่สุด ทั้งโรงเรือน และการจัดการ นอกเหนือจากสองระบบ้างต้น ยังมีอีกสองระบบที่หย่อนลงมาจากระบบการผลิตไก่เนื้ออินทรีย์ ได้แก่ ระบบการเลี้ยงแบบไก่ของวันพรุ่งนี้ หรือดีอาร์บี และระบบไก่เนื้อชีวิตที่ดีกว่าเดิม ๑ ดาว หรือบีแอลเอส ทั้งสองระบบใช้ไก่เนื้อสายพันธุ์โตช้า โดยระบบบีแอลเอส ต้องเตรียมพื้นที่ร่มนอกโรงเรือน และเลี้ยงความหนาแน่นลดลง    รายละเอียดพอสังเขปสำหรับเปรียบเทียบระบบการผลิตไก่เนื้อทางเลือกทั้ง ๔ ระบบ ดังนี้

๑. ระบบการผลิตไก่เนื้อตามปรกติ (Conventional broiler production system) โดยยึดตามข้อกำหนดขั้นต่ำที่สุดที่กฏหมายกำหนดไว้โดยสหภาพยุโรป ร่วมกับกฏระเบียบเพิ่มเติมที่กำหนดขึ้นโดยรัฐบาลดัทช์ ไก่เนื้อเจริญเติบโตได้รวดเร็ว และความหนาแน่นสูงสุดเป็น ๔๒ กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยเลี้ยงภายในโรงเรือน ปัจจุบัน ระบบการเลี้ยงนี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๖๕ ถึง ๗๐ ของการผลิตไก่เนื้อทั้งหมดในเนเธอร์แลนด์

ภาพที่ ๑ ระบบการผลิตไก่เนื้อตามปรกติสามารถพบเห็นได้ทั่วไป (แหล่งภาพ Peter van Horne)  

๒. ระบบการเลี้ยงแบบไก่ของวันพรุ่งนี้ (Chicken of Tomorrow) ที่กำหนดโดยดีอาร์บี หรือผู้ค้าปลีกไก่เนื้อดัทช์ (Dutch Retail Broiler, DRB) ตามข้อตกลงระหว่างภาคการผลิตสัตว์ปีก และผู้ค้าปลีกดัทช์ ระบบการผลิตนี้ใช้สายพันธุ์ไก่โตช้า โดยมีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันสูงที่สุด ๕๐ กรัมต่อวัน ความหนาแน่นสูงที่สุด ๓๘ กิโลกรัมต่อตารางเมตร และจัดให้มีสิ่งแวดล้อมที่ผ่อนคลายความเครียดให้ไก่ เลี้ยงภายในโรงเรือน

ภาพที่ ๒ นับตั้งแต่นำผลิตภัณฑ์ไก่จากระบบการเลี้ยงแบบไก่ของวันพรุ่งนี้ วางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต สร้างความรับรู้ให้กับผู้บริโภคทราบถึงข้อแตกต่างด้านการผลิต เปรียบเทียบกับราคาสินค้า ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ การผลิตไก่ในระบบปรกติในยุโรปก็เริ่มหายไปจากตลาด (แหล่งภาพ Michel Zoeter)   

๓.  ระบบบีแอลเอส หรือชีวิตที่ดีกว่าเดิม ๑ ดาว (Better Life one Star) พัฒนาขึ้นโดยชมรมคุ้มครองสัตว์ดัทช์ ใช้สายพันธุ์ไก่โตช้า โดยอายุจับไก่ส่งโรงฆ่าเป็น ๕๖ วัน และความหนาแน่นสูงที่สุด ๒๕ กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้เลี้ยงไก่นอกโรงเรือน และจัดให้มีสิ่งแวดล้อมที่ลดความเครียด ได้แก่ ก้อนฟาง และเมล็ดพืชสำหรับให้ไก่จิก และคุ้ยเขี่ยเล่น

ภาพที่ ๓ ระบบบีแอลเอส กำหนดให้มีพื้นที่เลี้ยงไก่นอกโรงเรือน

๔. ระบบการผลิตไก่เนื้ออินทรีย์ (Organic broiler production system)  มีข้อกำหนดที่เข้มงวดอย่างมากทั้งระบบโรงเรือน และการจัดการ รวมถึง สวัสดิภาพสัตว์ สายพันธุ์ไก่ก็ต้องใช้เป็นสายพันธุ์ไก่โตช้า และอายุจับไก่ส่งโรงฆ่าอย่างน้อย ๗๐ วัน ความหนาแน่นสูงที่สุด ๒๑ กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีพื้นที่ปล่อยให้ใช้ชีวิตเป็นอิสระ และใช้อาหารที่เตรียมจากวัตถุดิบอินทรีย์เท่านั้น

ภาพที่ ๔ ระบบการผลิตไก่เนื้ออินทรีย์ข้อกำหนดที่เข้มงวดอย่างมากทั้งระบบโรงเรือน และการจัดการ รวมถึง สวัสดิภาพสัตว์ (แหล่งภาพ Kemperkip)

ตารางที่ ๑ เปรียบเทียบระบบการเลี้ยงไก่เนื้อทั้ง ๔ ระบบในเนเธอร์แลนด์

ระบบการเลี้ยงปรกติระบบดีอาร์บีระบบบีแอลเอสระบบอินทรีย์
จำนวนวันเลี้ยงไก่ (วัน)ไม่มีไม่มี๕๖ วัน๗๐ วัน
อัตราการเจริญเติบโตต่อวันสูงที่สุด (กรัม)ไม่มี๕๐ กรัมไม่มีไม่มี
ความหนาแน่นการเลี้ยง (กก.ต่อ ตร.ม.)๔๒๓๘๒๕๒๑
พื้นที่นอกโรงเรือนไม่มีไม่มีพื้นที่ร่มเงาภายนอกปล่อยอิสระ
ระยะเวลามืด อย่างน้อย (ชม./วัน)
ข้อกำหนดอาหารสัตว์ เมล็ดพืชไม่มีไม่มีร้อยละ ๗๐อินทรีย์
ของเล่น ก้อนฟางไม่มีใช่ ๑ ก้อน/ ๑ พันตัวใช่ ๑ ก้อน/๑ พันตัวไม่มี
ของเล่น เมล็ดพืชสำหรับจิกกินเล่นไม่มีไม่มีใช่ ๒ กรัม/วัน/ตัวไม่มี
กำหนดขนาดฝูงมากที่สุดไม่มีไม่มีไม่มี๔๘๐๐ ตัว
ขนาดโรงเรือนสูงที่สุดไม่มีไม่มีไม่มี๑๖๐๐ ตร.ม.

ลูกไก่อายุ ๑ วันของสายพันธุ์ไก่โตช้าจะราคาแพงมากกว่าลูกไก่ปรกติ สำหรับดีอาร์บี บีแอลเอส และไก่อินทรีย์ ราคาลูกไก่อายุ ๑ วันราคาแพงกว่า สำหรับไก่อินทรีย์ แพงกว่าใครเพื่อน เนื่องจาก การให้วัคซีนพิเศษที่โรงฟัก

ต้นทุนอาหารสัตว์เป็นส่วนที่ราคาแพงที่สุดสำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อ ร้อยละ ๖๐ ของต้นทุนรวม ในการเลี้ยงระบบปรกติ ราคาต้นทุนอาหารสัตว์เกิดจากการกิน และราคาของอาหารสัตว์  ราคาอาหารสัตว์ถูกลงเล็กน้อยสำหรับระบบดีอาร์บี และบีแอลเอส เปรียบเทียบกับระบบปรกติ เนื่องจาก ไก่เนื้อโตช้าจะกินอาหารสัตว์ที่มีปริมาณโปรตีนต่ำกว่าปรกติ อย่างไรก็ตาม ไก่เนื้อโตช้าต้องเลี้ยงจำนวนวันมากกว่าจึงจะได้น้ำหนักเข้าโรงเชือดเปรียบเทียบกับการเลี้ยงไก่เนื้อปรกติ อาหารสัตว์อินทรีย์สำหรับไก่เนื้อมีราคาแพงกว่ามาก เนื่องจาก วัตถุดิบอาหารสัตว์ต้องผลิตจากฟาร์มระบบอินทรีย์ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง

ต้นทุนอาหารสัตว์รวมต่อน้ำหนักไก่ ๑ กิโลกรัมจะสูงขึ้นสำหรับระบบดีอาร์บี ๒๐.๑๑ บาท และระบบบีแอลเอส ๒๒.๐๐ บาท เปรียบเทียบกับระบบปรกติ ๑๗.๕๑ บาท ต้นทุนอาหารสัตว์ต่อน้ำหนักไก่เป็น ๑ กิโลกรัมของไก่อินทรีย์เป็น ๖๐.๘๑ บาท คิดเป็นร้อยละ ๗๐ ของต้นทุนการผลิตทั้งหด สำหรับข้อมูลด้านวิชาการอื่นๆสำหรับการเลี้ยงไก่ระบบปรกติ ดีอาร์บี บีแอลเอส และอินทรีย์ โดยคิดจากน้ำหนักไก่ ๒.๔ กิโลกรัมในระยะเวลา ๔๑ วัน ๔๙ วัน ๕๖ วัน และ ๗๕ วัน โดยมีอัตราการแลกเนื้อเป็น ๑.๖ ๑.๙ ๒.๑ และ ๒.๖๕ ตามลำดับ

ตารางที่ ๒ ข้อมูลด้านการผลิตของการเลี้ยงไก่เนื้อทั้ง ๔ ระบบในเนเธอร์แลนด์

ข้อมูลด้านการผลิตปรกติระบบดีอาร์บีระบบบีแอลเอสระบบอินทรีย์
ระยะเวลาการเลี้ยง (วัน)๔๑๔๙๕๖๗๕
น้ำหนักจับ (เฉลี่ยเป็นกรัม)๒,๔๐๖๒,๔๐๑๒,๔๐๘๒,๔๐๐
อัตราการตาย (ร้อยละ)๓.๕๒.๕๒.๗
ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร๑.๖๑.๙๒.๑๒.๖๕
ความหนาแน่น (ตัว/ตร.ม.)๒๑๑๕.๕๑๐.๑
ระยะพักโรงเรือน (วัน)๑๔
รอบการเลี้ยงต่อปี๗.๔๖.๔๕.๖๔.๑

ในระบบการเลี้ยงปรกติ ต้นทุนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพสัตว์ ได้แก่ การให้วัคซีน สัตวแพทย์ ค่าตรวจแล็บ การให้ยา เป็นต้น โดยเฉลี่ยราว ๑.๗๖ บาทต่อตัวไก่เนื้อ ต้นทุนสำหรับระบบดีอาร์บี และบีแอลเอสต่ำลงเล็กน้อย เนื่องจาก ใช้ยาปฏิชีวนะน้อยกว่า และระบบอินทรีย์จะแพงกว่ามาก อันเป็นผลมาจากการผลิตเป็นฝูงขนาดเล็ก

ภาพที่ ๕ หนึ่งในสามของผู้ผลิตไก่เนื้อดัทช์เปลี่ยนไปเลี้ยงระบบการผลิตที่เน้นสวัสดิภาพสัตว์ แต่ตลาดส่งออกร้อยละ ๗๐ ของการผลิตยังคงใช้ระบบการเลี้ยงปรกติ ก้อนฟางเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับเลี้ยงไก่เนื้อตามมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ ทั้งระบบดีอาร์บี และบีแอลเอส (แหล่งภาพ Sebastiaan Rozendaal)

ต้นทุนอื่นๆ เช่น การให้ความร้อน เช่น การกกลูกไก่ หรือการทำให้โรงเรือนอบอุ่นในเขตหนาว ค่าไฟฟ้า วัสดุรองพื้น การจับไก่ และการจัดให้มีอุปกรณ์ของเล่นให้ไก่ ต้นทุนเหล่านี้เพิ่มขึ้นเมื่อเปลี่ยนจากระบบการเลี้ยงปรกติเป็นระบบดีอาร์บี จนถึงบีแอลเอส และอินทรย์ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบปรกติ ต้นทุนสำหรับการให้ความร้อน และค่าไฟฟ้าจะสูงกว่าดีอาร์บี และบีแอลเอส สำหรับต้นทุนด้านการให้ความร้อนของบีแอบเอสจะสูงขึ้นร้อยละ ๘๐ และค่าไฟฟ้าสูงขึ้นร้อยละ ๖๐ เปรียบเทียบกับระบบปรกติ แต่ค่าไฟฟ้าของระบบอินทรีย์จะถูกลง เนื่องจาก การระบายอากาศในโรงเรือนเป็นไปตามธรรมชาติ

สำหรับระบบบีแอลเอส การให้เมล็ดพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นภาคบังคับ โดยสองสัปดาห์ภายหลังเริ่มต้นระยะ Growing period ไก่เนื้อจะได้รับเมล็ดพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์ ๒ กรัมต่อวัน ต้นทุนราว ๓๕ สตางค์ต่อตัวไก่เนื้อ

ระบบการเลี้ยงปรกติ และดีอาร์บี ไก่เนื้อจะเลี้ยงในโรงเรือนปรกติทั่วไป ต้นทุนการสร้างโรงเรือนราว ๗,๒๔๐ บาทต่อตารางเมตร ในระบบบีแอลเอส พื้นที่นอกโรงเรือนที่ร่มต้องเพิ่มเข้ามา งบลงทุนราว ๖,๐๐๐ บาทต่อตารางเมตร   

ระบบอินทรีย์ ไก่เนื้อถูกเลี้ยงในโรงเรือนพื้นฐานสำหรับสัตว์ปีก งบลงทุนราว ๓,๗๐๐ บาทต่อตารางเมตร การลงทุนเกี่ยวกับอุปกรณ์ในโรงเรือนมาตรฐานสำหรับสัตว์ปีกระบบปรกติ และดีอาร์บีราว ๓,๕๓๑ บาทต่อตารางเมตร งบลงทุนเหล่านี้ถูกลงสำหรับระบบบีแอลเอส ๒,๘๒๕ บาท และระบบอินทรีย์ ๑,๙๔๒ บาทเท่านั้น

ตารางที่ ๓ ราคา และต้นทุนผันแปรสำหรับระบบการเลี้ยงไก่เนื้อทั้ง ๔ ระบบในเนเธอร์แลนด์

ราคาปรกติระบบดีอาร์บีระบบบีแอลเอสระบบอินทรีย์
ราคาลูกไก่ (บาทต่อตัว)๑๐.๙๔๑๒.๓๖๑๒.๗๑๑๕.๘๙
ราคาอาหารสัตว์ (บาทต่อกิโลกรัม)๑๑.๐๒๑๐.๖๖๑๐.๕๒๒๓.๑๑
ยาและวัคซีน (บาทต่อตัว)๑.๗๗๑.๖๐๑.๔๒๑.๗๗
ค่าแก๊ส (บาทต่อตัว)๑.๓๗๑.๘๖๒.๕๒๓.๕๑
ค่าจับไก่ (บาทต่อตัว)๑.๔๒๑.๕๓๑.๖๗๓.๕๑
ค่าไฟ้ฟ้า (บาทต่อตัว)๐.๗๙๑.๐๒๑.๒๕๐.๘๔
ค่าวัสดุรองพื้น (บาทต่อตัว)๐.๓๖๐.๔๘๐.๗๔๐.๘๓
เมล็ดพันธุ์สำหรับเอนริชเมนต์ (บาทต่อตัว)๑.๐๗๐.๕๔
ก้อนฟองสำหรับเอนริชเมนต์ (บาทต่อตัว)๐.๑๘๐.๑๘

สำหรับระบบการผลิตทั้ง ๔ ระบบ ต้นทุนการผลิตถูกคำนวณเป็นเงินต่อกิโลกรัมของน้ำหนักไก่มีชีวิต ต้นทุนการผลิตรวมสำหรับการผลิตไก่ตามระบบปรกติที่นิยมใช้กันเป็น ๒๘.๖๓ บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนรวมสำหรับระบบดีอาร์บี และบีแอลเอส เป็น ๓๔.๔๙ บาท (สูงขึ้นร้อยละ ๒๐) และ ๔๑.๓๒ บาท (สูงขึ้นร้อยละ ๔๔) ระบบอินทรีย์ใช้เงินแพงที่สุด คิดเป็นสามเท่าของระบบปรกติเป็น ๘๓.๘๙ บาทต่อกิโลกรัมของน้ำหนักไก่มีชีวิต สูงขึ้นร้อยละ ๑๙๓ ทีเดียว ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ฟาร์มที่เปลี่ยนไปเลี้ยงระบบการเลี้ยงใหม่ได้รับผลตอบแทนเป็นราคาพิเศษสูงขึ้น โดยการเลี้ยงไก่ตามระบบปรกติ ระบบดีอาร์บี ระบบบีแอลเอส และระบบอินทรีย์ เป็น ๒๘.๗๗ บาท ๓๕.๐๑ บาท (สูงขึ้นร้อยละ ๒๒) ๔๐.๙๐ บาท (สูงขึ้นร้อยละ ๔๒) และ ๘๓.๘๙ บาท (สูงขึ้นร้อยละ ๑๙๒) ต่อกิโลกรัมของน้ำหนักไก่มีชีวิต ตามลำดับ

เมื่อคำนวณผลตอบแทนรวม และต้นทุนการผลิตทั้งหมด รายได้เฉลี่ยสำหรับการเลี้ยงไก่ในแต่ละระบบสำหรับปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็น ๒.๓ ล้านบาท ๒.๖ ล้านบาท ๒.๕ ล้านบาท และ ๒.๑ ล้านบาทต่อปี สำหรับระบบการผลิตปรกติ ดีอาร์บี บีแอลเอส และอินทรีย์ตามลำดับ    

ผลการวิจัยนี้ เป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของหลายภาคส่วนในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมหาวิทยาลัยวาเคอนิงเงิน ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยกรีนเวลล์ ภายใต้งบวิจัยจากกระทรวงเกษตร ธรรมชาติ และคุณภาพอาหาร ร่วมกับบริษัทชั้นนำในวงการสัตว์ปีก เช่น Aviagen EPI, Belgabroed/Van Hulst, De Heus BV และ Plukon Food Group

เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2020. Study compares 4 Dutch broiler production systems. [Internet]. [Cited 2020 May 15]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2020/5/Study-compares-4-Dutch-broiler-production-systems-584069E/  

EU. 2007. Council Directive 2007/43/EC of 28 June 2007 laying down minimum rules for the protection of chickens kept for meat production. Brussels.   

Swormink BK. 2017. Chicken of Tomorrow is here today. [Internet]. [Cited 2017 Mar 13]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2017/3/Chicken-of-Tomorrow-is-here-today-103092E/

Van Horne PLM. 2020. Economics of broiler production systems in the Netherlands. Wageningen Economic Research Wageningen. p.1-32.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *